ข้อบังคับมูลนิธิฯ

 

เมื่อเดือนกันยายน  2521  ได้เกิดอุทกภัยอย่างหนักที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สร้างความทุกข์ยากแสนสาหัสแก่ประชาชนในพื้นที่  ประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่าทั่วทั้งประเทศ จึงร่วมกันระดมให้ความช่วยเหลือขณะเดียวกัน บุคคลกลุ่มหนึ่งนำโดย  นายชัยรัตน์ คำนวณ  ได้ร่วมกันก่อตั้งทีมฟุตบอล  “รักเมืองไทย”  ขึ้นประกอบด้วย  อดีตนักฟุตบอลทีมชาติ  พ่อค้า นายธนาคาร  นักธุรกิจ  ข้าราชการ และนักการเมือง  เพื่อจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลการกุศล นำรายได้ไปบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยครั้งนี้ คณะผู้ก่อตั้งได้เข้าพบ  ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์  ชมะนันท์  นายกรัฐมนตรี  ในขณะนั้นได้รับคำแนะนำให้จัดแข่งขันกับทีมรวมทหาร-ตำรวจ  จึงได้จัดให้มีการแข่งขันขึ้นที่สนามกีฬา ศุภชลาศัยใน  23  กันยายน  2521  ซึ่งต่อมาได้ถือเป็นวันสถาปนามูลนิธิรักเมืองไทย

ในวันแข่งขัน พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศ ในขณะนั้น) ได้เสด็จลงแข่งขันด้วยพระองค์เอง  ในทีม รวมทหาร-ตำรวจ  ยังความปลื้มปิติแก่พสกนิกรชาวไทย    เป็นอย่างดียิ่ง  และมีรายได้จากการบริจาคถึง  1 ล้านบาทเศษ  สามารถ นำไปบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างทันท่วงที

หลังจากนั้น ทีมฟุตบอลการกุศล  “รักเมืองไทย”  ก็ได้จัดการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและ ได้เพิ่มวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินก่อสร้างอาคารเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยได้รับการสนับสนุนอย่างดียิ่ง จาก ฯพณฯ พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น  ต่อมาเมื่อ ฯพณฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  จึงได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งเป็น  “มูลนิธิรักเมืองไทย”  และได้รับอนุมัติจากทางราชการ เมื่อ  24  กุมภาพันธ์ 2524  ด้วยทุนเริ่มแรก  200,000  บาท  คณะกรรมการเริ่มแรกมีจำนวน  24 ท่าน  มี  ฯพณฯ  เป็นประธานกรรมการ  พลตรีชาติชาย  ชุณหะวัณ  และพลตำรวจเอกชุมพล  โลหะชาละ  เป็นรองประธานกรรมการ  นายพิศาล  มูลศาสตรสาทร เป็นกรรมการและเหรัญญิก  นายชัยรัตน์ คำนวณ  เป็นกรรมการและเลขาธิการ 

ฯพณฯ  พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธิต่อเนื่องจนถึง 5 มิถุนายน  2549  และได้มอบหมายให้  พลเอกมงคล  อัมพรพิสิฎฐ์  เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสืบมา

นับตั้งแต่มูลนิธิได้ก่อตั้งมาจนถึงปี  2549  ได้ก่อสร้างอาคารเรียน  “รักเมืองไทย”  ไปแล้วรวม  29  แห่ง  อาคารเอนกประสงค์  1  แห่ง  และอาคารหอสมุด 6 แห่ง รวมเงินค่าก่อสร้างประมาณ  80  ล้านบาท  บริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุกภาคของประเทศรวม  4  ล้านบาท  ฯลฯ  และนับตั้งแต่ปี  2549  เป็นต้นมา  ได้บริจาคเงินจำนวน  20  ล้านบาท  ให้โครงการ  “สานใจไทย  สู่ใจใต้”  เพื่อก่อสร้างสถาบันปอเนาะต้นแบบ  3  แห่ง  ในจังหวัดปัตตานี  ยะลา และนราธิวาส  บริจาคเงินจำนวน  5 ล้านบาท  เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  และยังได้ร่วมกับกองบัญชาการกองทัพไทย  กองทัพบก  กองทัพเรือ  และกองทัพอากาศ  ซ่อมแซมอาคารเรียนรักเมืองไทยรวม  32  แห่งทั่วประเทศ ฯลฯ

 
 
 
 Untitled Document
 
หน้าแรก
l
เกี่ยวกับมูลนิธิ
l
l
l
l
แผนงานและโครงการ
l
l
l
.
   
 - ประวัติความเป็นมา
- วัตถุประสงค์
- เป้าหมายที่ชัดเจน
- เบลเซอร์สีเลือดหมู
 
            - ผลการดำเนินการที่สำคัญ
- โรงเรียนในโครงการ